ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาวพรสวรรค์ แป้นแย้ม (ก้อย) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หมู่ 2 ในรายวิชา PC9203 เทคโนโลยีสารเทศสำหรับครู

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

...^(-/\-)^ สวัสดีผู้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกทุกท่านนะคะ^^* บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ค่ะ จัดทำโดย นางสาวพรสวรรค์  แป้นแย้ม  ค.บ. 4  คณิตศาสตร์  หมู่2  มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงค่ะ.......^___^
คำอธิบายรายวิชา
            ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล
ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์ในรายวิชา
    
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
      1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
      2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
      3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
      4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
      5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
      6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
     7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
     8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
     9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
     10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
     11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
     12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
     13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
     14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
     15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
เนื้อหาบทเรียน
       
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
        หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
        หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
        หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
        หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
        หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
              ·         วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
              ·         เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
              ·         เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)
                 กิจกรรมการเรียนการสอน
         §  การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
         §  การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
         §  การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
         §  การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
         §  การสรุปเป็นรายงาน
         §  การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
การบูรณาการกับความพอเพียง
                  เศรษฐกิจพอเพียง       “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป
          หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง       การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท   โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   มีหลักพิจารณาอยู่ 5ส่วน ดังนี้ 
   •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
   •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
     
•  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
       •  เงื่อนไข   การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

         •  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี 
         ความซื่อสัตย์สุจริต  หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ  มีความจริงใจ ไม่มีความลำเอียง ไม่ทุจริตคดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รู้หน้าที่การงานของตนเอง ปฏิบัติเต็มกำลังความสามารถ  ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
            ผู้ที่จะมีความซื่อสัตย์สุจริตได้ ต้องมีคุณธรรมประจำ กาย วาจา ใจ คือ
            ๑) มีสัจจะ หมายถึง การคิด การพูด การทำแต่ความจริง
            ๒) มีความเป็นธรรม หมายถึง มีใจเป็นกลาง
            ๓) ไม่มีอคติ หมายถึง ไม่มีความลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง
            ๑) ผู้ที่มีสัจจะ คือผู้ที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น เช่น จะคิด จะพูด จะทำ สิ่งใดก็ต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุลวงไปด้วยดี สิ่งนั้นต้องเป็นความจริง มีประโยชน์กับตนเองผู้อื่น และส่วนรวม จะประกอบกิจการใดๆ ก็มีความจริงจัง จริงใจ ต่อเนื่อง มีความซื่อตรงต่อเวลาต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง ผู้อื่น องค์กร สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง
            ๒) มีความเป็นธรรม เป็นผู้ที่รู้เหตุ รู้ผล รู้ผิด รู้ถูก รู้ชั่ว รู้ดี เข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์   ย่อมทำถูกบ้าง  ผิดบ้าง เพราะมีสติปัญญาแตกต่างกัน ผู้ที่มีใจเป็นกลาง  ต้องส่งเสริมสนับสนุน ผู้ที่ทำถูกทำดีแล้วให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป  และให้โอกาสผู้ที่ทำผิดทำชั่ว โดยช่วยอบรมสั่งสอน ให้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง  ให้ละชั่วประพฤติดี ใครผิดก็ว่าไปตามผิด ใครถูกก็ว่าไปตามถูก  นี้คือ คุณสมบัติของ  ผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ คือ  ความเป็นธรรม
             ๓)  ไม่มีอคติ หมายถึง  ไม่มีความลำเอียง    ประการดังนี้
                        ๑) ไม่ลำเอียงเพราะรัก
                        ๒) ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด
                        ๓) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
                        ๔) ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา
            ผู้ที่มีอคติ   คือมีความลำเอียง  หรือความเอนเอียง   เข้าข้างใดข้างหนึ่ง  ไม่เป็นกลาง  ไม่มีความยุติธรรม
            ๑) ไม่ลำเอียงเพราะรัก หมายถึง คนที่เรารักทำความผิดเราก็ต้องตัดสินว่าผิด คนที่เรารักทำถูกเราก็ตัดสินว่าถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
            ๒) ไม่ลำเอียงเพราะเกลียด คนที่เราเกลียดทำถูกเราต้องตัดสินว่าถูก คนที่เราเกลียดทำผิดเราก็ต้องตัดสินว่าผิด เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
            ๓) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ผู้ที่มีอำนาจทำผิด เราก็ต้องตัดสินว่าผิด ผู้ที่มีอำนาจมีอิทธิพลทำถูกเราก็ต้องตัดสินว่าถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เกรงกลัวอำนาจอิทธิพลใดๆ
            ๔) ไม่ลำเอียงเพราะโง่เขลา ผู้ใดที่กระทำความผิด เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ ไม่หูเบาเชื่อคนง่าย ไม่ตัดสินคดีความด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ต้องมีความเป็นธรรม เป็นกลาง และซื่อสัตย์ต่อตนเองและหน้าที่ของตน
            ผู้ที่มีคุณธรรมดังที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ มีสัจจะ การคิด การพูด การทำแต่ความจริง มีความเป็นธรรม คือ มีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ คือ ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ จะเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อหน้าที่การงาน ต่อองค์กร ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
            ส่วนผู้ที่มีอคติ คือมีความลำเอียงหรือเอนเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง
            ๑) ลำเอียงเพราะรัก คือคนที่ตนรักทำผิดก็ตัดสินว่าถูก
            ๒) ลำเอียงเพราะเกลียด คนที่ตนเกลียด ทำถูกก็ตัดสินว่าผิด
            ๓) ลำเอียงเพราะกลัว ผู้ที่มีอำนาจมีอิทธิพลทำความผิดก็ตัดสินว่าถูก
            ๔) ลำเอียงเพราะโง่เขลา จะตัดสินปัญหาใดๆก็ผิด เพราะเป็นคนหูเบาเชื่อคนง่าย ไม่มีสติปัญญา ไม่มีคุณธรรม ตัดสินปัญหาต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่มีเหตุผล ไม่มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ หน้าที่การงาน  ไม่มีความจริงใจต่อตนเอง และผู้อื่น ทำให้สังคมเสื่อมโทรม ไม่ควรเคารพนับถือ ไม่ควรคบค้าสมาคม นี้คือ  ผู้ที่ขาดคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง